ผลของ TNFi ต่อ COVID19 outcome เมื่อเทียบกับยารักษาอื่น ในกลุ่มผู้ป่วย immune-mediated inflammatory diseases
Share
ยากลุ่ม TNFi* monotherapy ช่วยลดความเสี่ยงต่อ COVID19 outcome (Hospitalization or Death)
ยากลุ่ม TNFi* monotherapy ช่วยลดความเสี่ยงต่อ COVID19 outcome (Hospitalization or Death)ในผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติเช่น Rheumatoid Arthritis, Crohn’s disease, Ulcerative colitis, Spondyloarthritis, Psoriatic arthritis, Psoriasis และอื่นๆ ‘เมื่อเทียบกับยาอื่น’ เช่น methotrexate (MTX), 6-Mercaptopurine (6MP), azathioprine (AZA), Janus kinase inhibitor (JAKi)**(ขอย้ำว่าการศึกษานี้เทียบกับยาอื่น ไม่ใช่ placebo)
ข้อมูลการศึกษามาจาก 3 registries
ตามข้อมูลด้านล่าง ได้รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย 6077 ราย จาก 74 ประเทศ (ประมาณครึ่งหนึ่งมาจากยุโรป) อายุเฉลี่ยผู้ป่วยประมาณ 48.8 ปี
1. the COVID-19 Global Rheumatology Alliance (GRA) registry
2. the Secure Epidemiology of Coronavirus Under Research Exclusion for Inflammatory Bowel Disease (SECURE-IBD) registry
3. Psoriasis Patient Registry for Outcomes, Therapy and Epidemiology of COVID-19 Infection (PsoProtect) registries
ผู้ป่วยในการศึกษานี้ประกอบด้วย
โรค | จำนวนผู้ป่วย |
Rheumatoid Arthritis | 35.3% |
Crohn’s disease | 25.3% |
Ulcerative colitis | 12.5% |
Spondyloarthritis | 10.3% |
Psoriatic arthritis | 9.3% |
Psoriasis | 4.9% |
อื่นๆหรือมีหลายโรคร่วมกัน | 2.2% |
ผลการศึกษา
จากผู้ป่วยจำนวน 6077 ราย พบมีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 21.3% (1297 ราย) และเสียชีวิต 3.1% (189 ราย)
การรักษาด้วย TNFi monotherapy พบว่ายาอื่นเพิ่มความเสี่ยงต่อ hospitalization หรือ death :
– 74% เมื่อเปรียบเทียบกับ TNFi + AZA/6-MP (p = 0.006)
– 84% เมื่อเปรียบเทียบกับ AZA/6-MP monotherapy (p = 0.001)
– 100% เมื่อเปรียบเทียบกับ MTX monotherapy (p < 0.001)
– 84% เมื่อเปรียบเทียบกับ JAKi monotherapy (0.004)
– ไม่พบความแตกต่างเมื่อเทียบกับ TNFi + MTX (p = 0.33)
ทำไม TNFi จึงช่วยลด hospitalization และ death?
ทั้งนี้โดยปกติแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมทั้งการหลั่งสาร TNF มีผลต่อกระบวนการทำลายอวัยวะต่างๆของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID19 ซึ่งทางกลุ่มผู้วิจัยเชื่อว่า TNFi ช่วยลดผลกระทบของของ TNF จึงช่วยลด hospitalization และ death
ผลจากยาอื่นในการรักษา immune-mediated inflammatory diseases
เนื่องจาการศึกษานี้เปรียบเทียบกับ TNFi ดังนั้นการที่ผลออกมาแย่กว่าไม่ได้แปลว่าทำให้อาการแย่ลง แต่อาจเกิดจากผลของ TNFi ที่ดีกว่า
1. ยากลุ่ม thiopurine (azathioprine และ 6-mercaptopurine): อาจทำให้ผลแย่ลงเนื่องจาทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัส (กลุ่ม Herpesviridae) ได้เพิ่มขึ้น
2. Methotrexate: เชื่อว่าจะช่วยลด cytokine storm จาก COVID19 แต่อาจเป็นไปได้ว่าผลของ TNFi ดีกว่า
3. ยากลุ่ม JAKi: มีการศึกษาให้ยาคู่กันระหว่าง remdesivir และ baricitinib ช่วยทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้น แต่การศึกษานี้เมื่อเทียบทั้งกลุ่ม JAKi กับ TNFi พบว่า TNFi ดีกว่า
หมายเหตุ
*ยาในกลุ่ม TNFi ในการศึกษานี้ได้แก่ Adalimumab, Certolizumab Pegol, Etanercept, Golimumab, infliximab
**ยาในกลุ่ม JAKi ในการศึกษานี้ได้แก่ tofacitimib, baricitinib, upadacitinib
***การศึกษานี้ exclude ผู้ป่วยที่ใช้ immunomodulator แต่ยกเว้นให้สำหรับ sulfasalazine, mesalamine, hydroxychloroquine, chloroquine, leflunomide, budesonide ชนิดรับประทาน, ยากลุ่ม glucocorticoids
****(ความเห็นส่วนตัว) สิ่งที่ไม่เห็นในการศึกษานี้คือ COVID19 vaccines แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าช่วงการศึกษาอยู่ระหว่าง มีนาคม 2020 – กุมภาพันธุ์ 2021 ซึ่งยังมีจำนวนน้อยที่ได้รับ vaccine
Reference
Izadi Z, Brenner EJ, Mahil SK, et al. Association Between Tumor Necrosis Factor Inhibitors and the Risk of Hospitalization or Death Among Patients With Immune-Mediated Inflammatory Disease and COVID-19. JAMA Netw Open. 2021;4(10):e2129639. doi:10.1001/jamanetworkopen.2021.29639