สถิติมะเร็งในประเทศไทยปี 2020 จาก GLOBOCAN
Share
****ข้อมูลใหม่ GLOBOCAN 2022 สามารถดูได้ >>> GLOBOCAN2022
ในทางข้อมูลสถิติด้านมะเร็งนั้นจะมีการอ้างอิง GLOBCAN อยู่เสมอๆ ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลจากทุกประเทศมาสู่ฐานข้อมูล GLOBOCAN จากนั้นเวลานำเสนอข้อมูลเป็น visualization ผ่านเวป จะเรียกเป็น The Global Cancer Observatory (GCO)*
ข้อมูลที่แสดงด้านล่างนี้เรียกว่าเป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆที่แสดงให้ดู เนื่องจากข้อมูลสามารถปรับได้อีกหลายส่วนเช่น เพศ อายุ เป็นต้น ดังนั้นหากต้องการนำไปใช้อ้างอิงที่จำเพาะ จำเป็นต้องเข้าไปดูใน website: https://gco.iarc.fr/today/home เพื่อให้ได้รูปแบบผลที่ต้องการแสดง
สำหรับประเทศไทยแล้ว ถ้าดูโดยภาพรวม มะเร็งที่พบ (incidence) บ่อยที่สุดในปี 2020 เรียง 5 อันดับแรกคือ…
1. มะเร็งเต้านม
2. มะเร็งตับ
3. มะเร็งปอด
4. มะเร็งลำไส้
5. มะเร็งปากมดลูก
แต่… ถ้าดูตามกราฟแท่งสีแดงจะเห็นได้ว่าอัตราการเสียชีวิตไม่ได้มากที่สุดสำหรับมะเร็งเต้านม… เรามาดูในรูปถัดไปกัน
ส่วนมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยในปี 2020 เรียง 5 อันดับแรกได้แก่
1. มะเร็งตับ
2. มะเร็งปอด
3. มะเร็งเต้านม
4. มะเร็งลำไส้
5. มะเร็งปากมดลูก
คราวนี้หากมาลองแยกตามเพศจะพบได้ว่ามะเร็งแต่ละชนิดยังพบจำนวนผู้ป่วยแตกต่างกันไป (รวมถึงอัตราการเสียชีวิตด้วย ซึ่งไม่ได้แสดงในที่นี้)
เพศหญิง
1. มะเร็งเต้านม
2. มะเร็งลำไส้
3. มะเร็งปากมดลูก
4. มะเร็งมดลูก
5. มะเร็งรังไข่
เพศชาย
1. มะเร็งต่อมลูกหมาก
2. มะเร็งลำไส้
3. มะเร็งตับ
4. มะเร็งปอด
5. มะเร็งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน
หรือหากเปรียบเทียบประเทศไทยกับทั่วโลกก็ยังคงพบชนิดของมะเร็งที่แตกต่างกันทั้ง incidence และ mortality
*คำถามคาใจข้อแรกคือ เอ๊ะ แล้วทำไมเมืองนอกจะรู้ข้อมูลคนไทยดีกว่าคนไทยได้อย่างไร?
อันที่จริงแล้วข้อมูลที่ได้นำเสนอนั้น ยังคงเป็นข้อมูลที่มาจากประเทศไทยอยู่ดี โดยนำมาจาก registry ในแต่ละประเทศ (ดูข้อมูล ฐานข้อมูลในแต่ละประเทศได้ ที่นี่
สำหรับในประเทศไทย ฐานข้อมูล registry ได้นำมาจาก
1. Bangkok Cancer Registry
2. Chiang Mai Cancer Registry
3. Chonburi Cancer Registry
4. Khon Kaen Cancer Registry
5. Lampang Cancer Registry
6. Lopburi Cancer Registry
7. Songkhla Cancer Registry
8. Surat Thani Cancer Registry
ได้ข้อมูลมาแล้ว นำมาหา incidence และ mortality อย่างไร?
ทาง GLOBOCAN ได้อธิบายรายละเอียดของแต่ละประเทศตาม ไฟล์นี้
สำหรับประเทศไทยใช้ข้อมูลจาก
1. Incidence: Weigthed average of (1) Bangkok (2008-2012)2; (2) Central region: average of Chanthaburi, Chonburi, Lopburi, Rayong and Trat (2010-2012)2; (3) Northern region: average of Chiang Mai, Lampang, Lamphun and Phitsanulok (2010-2012)2; (4) Northeastern region: average of Khon Kaen, Ubon Ratchathani and Udon Thani (2010-2012)2 and (5) Southern region: average of Krabi, Songkhla and Surat Thani (2010-2012)2 applied to 2020 national population.
Colon, rectum, breast and prostate cancers: rates (2003-2012)2 from seven cancer registries were projected to 2020 and applied to the 2020 national population.
Data source: W. Imsamran, A. Chaiwerawattana, S. Wiangnon, D. Pongnikorn, K. Suwanrungrung, S. Sangrajrang, R. Buasom. Cancer in Thailand Vol. VIII, 2010-2012. National Cancer Institute Thailand, Bangkok, 2015
2. Mortality: Estimated from incidence using the ‘South-Eastern Asia’ model.
The number of cancer deaths (all ages) was partitioned by sex and age using proportions from Thailand national cancer mortality (source WHO).